วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Natural Mapping บนปุ่ม เพิ่ม-ลด เสียง

เรามักจะได้ยินกันบ่อยๆ ว่าการออกแบบที่ดีคือการออกแบบที่ผู้ใช้ไม่ต้องคิดว่าจะต้องใช้มันอย่างไร ซึ่งมันพูดง่าย แต่ทำโคตรยากด้วยข้อจำกัดต่างๆ เช่น
  • ข้อจำกัดทางกายภาพของผู้ใช้เอง เช่น ผู้ใช้ถนัดซ้าย ถนัดขวา
  • ข้อจำกัดทางวัฒนธรรม เช่น สีเดียวกัน แต่วัฒนธรรมต่างกันก็ตีความมันต่างกัน
ทีนี้เวลาออกแบบคนออกแบบก็เลยจะต้องพยายามออกแบบโดยพยายามให้ผู้ใช้ใช้ความรู้ที่มีอยู่แล้วและสิ่งที่เกือบจะเป็นสัจจะนิรันดร์ที่คนเกือบทั้งหมดน่าจะเข้าใจได้ตรงกันมาเป็นฐานในการออกแบบ อันนี้หนังสือ Design of Everyday things เรียกว่าเป็น ความรู้ที่มีอยู่บนโลก คงเปรียบได้ประมาณ มันอยู่ตรงนั้นแหล่ะ เห็นก็เรียนรู้ได้แล้ว

ยกตัวอย่างที่เห็นเมื่อวานคือ บนพวงมาลัยรถรุ่นใหม่ มักจะมีปุ่มควบคุมอุปกรณ์ในรถอยู่ อย่างน้อยที่สุดก็จะเป็นปุ่มควบคุมเสียงของเครื่องเสียงในรถยนต์ ซึ่งการออกแบบที่ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของการกระทำและผลลัพธ์ที่สอดคล้อง ก็จะทำให้สิ่งที่น่าจะใช้ได้ง่ายๆ เป็นของที่ใช้ยากได้

พวงมาลัยรถ Mazda 3 รุ่นปี 2010
เวลาเราพูดถึงการ เพิ่ม-ลด เสียง เรามักจะนึกถึง ปริมาณ มาก-น้อย ของเสียง อย่างถ้าเราดูปุ่มด้านซ้ายสุดบนรูปพวงมาลัยในรูปที่มีคำว่า VOL จะถูกตั้งเป็นแนวตั้ง สาเหตุที่มีการตั้งเป็นแนวตั้งก็คงจะเป็นเรื่องของ ปริมาณ ที่การแสดงปุ่มเป็นแนวตั้ง ก็น่าที่จะเป็นปัจจัยในการสร้างความเข้าใจให้กับผู้ใช้ได้ว่า หากกดด้านล่างของปุ่มก็จะเป็นการ ลดปริมาณเสียง และการ กดด้านบนของปุ่มก็จะเป็นการ เพิ่มปริมาณเสียง

การทำแบบนี้ยังเห็นได้จากในอีกหลายๆ ส่วนของการควบคุมรถยนต์เช่น ทำไมดันก้านไฟเลี้ยวขึ้นจึงเป็นการเลี้ยวซ้าย กดไฟเลี้ยวลงจึงเป็นการเลี้ยวขวา ปุ่มปรับแอร์ ฯ

ทีนี้ก็มีรถบางยี่ห้อคิดอีกแบบ เอาปุ่มเพิ่มลดเสียงไว้ในตำแหน่งเดียวกัน แต่จับปุ่มเป็นแนวนอนเสีย ซึ่งอันนี้ก็น่าสนใจว่าการจับปุ่มไว้แนวนอนนั้นมีข้อดีทั้งในเชิงการใช้งานความรู้ที่มีอยู่บนโลก กับ สรีระศาสตร์ อย่างไรบ้าง อันนี้ต้องลองดูว่ารถโดยมากออกแบบอย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น