ที่นี้การบอกเล่าก็สามารถทำได้หลายแบบ ส่วนมากเรามักเอาง่ายๆ โดยนำเสนอเป็นข้อๆ เช่น เราต้องการบอกว่าผู้ใช้โปรแกรมเป็นใคร
- อายุ 24 ปี
- เรียนจบมา 1 ปีในสาขาคอมพิวเตอร์
- ทำงานส่งพัสดุ
- ชอบสีแดง
- ใช้รถสีเขียว
การบอกเล่าเป็นข้อๆ ก็เป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายสามารถเข้าใจได้เร็วด้วย แต่ยังไม่ดีที่สุดเพราะการบอกเป็นข้อๆ นั้นขาดการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลและทำให้จดจำได้ยาก ไม่สร้างจิตนาการให้กับผู้ฟัง
รูปแสดงการสนทนาแบบเล่าเรื่อง
การอธิบายด้วยการเล่าเรื่องจึงเป็นรูปแบบที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ ตัวอย่างเช่น เราเล่าว่า
"ผู้ใช้ของเราเป็นน้องคนนึงพึ่งจบจากมหาวิทยาลัยมาได้หนึ่งปี แต่กว่าจะจบได้ก็ต้องเรียนซ่อมอยู่หลายตัวกว่าจะจบก็อายุ 24 ละ ตอนนี้น้องเค้ามาทำงานเป็นคนขี่จักรยานส่งของ ถึงแม้น้องจะจบสาขาคอมพิวเตอร์แต่เค้าคิดว่าอนาคตธุรกิจการส่งของด้วยจักรยานจะมาแรง จึงเลือกมาทดลองทำดู ล่าสุดน้องได้ซื้อจักรยานเป็นของตัวเอง โดยเลือกคันที่มีสีเขียวทั้งๆ ที่ชอบสีแดงก็เพราะอยากให้ผู้ว่าจ่างให้รู้สึกเหมือนเป็นรถ Taxi เราต้องดูกันต่อไปว่าเค้าจะไปได้รุ่งมั๊ย"
ถึงแม้เราจะต้องอ่านยาวกว่าแบบที่สรุปมาแล้วเป็นข้อๆ แต่หลังจากอ่านเราจะสามารถจิตนาการได้มากกว่า เรารู้ที่มาที่ไปของข้อมูลแต่ละอย่าง เราเริ่มรู้ว่าน้องคนนี้ใส่ใจเรื่องรูปลักษณ์ ดังนั้นเราอาจจะต้องยอมเสียเวลากับเรื่องรูปลักษณ์มากหน่อยตอนที่ออกแบบโปรแกรม นอกจากนั้นการเล่าเรื่องยังยั่วให้เกิดการซักถามได้ดีด้วยเมื่อเกิดการสนทนาระหว่างผู้เล่าและผู้ฟัง ก็จะช่วยให้ผู้ฟังได้รับข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น
ดังนั้นเมื่อคนทำ UX จะต้องสื่อสารกับคนจำนวนมาก ทักษะการเล่าเรื่องจึงจำเป็นอย่างยิ่งครับ
** ข้อควรระวัง **
คนที่ฟังเราแต่ละคนจะจดจำเรื่องราวที่เราเล่าในรูปแบบของตนเองถนัดหรือจดจำเฉพาะในส่วนที่ตนเองสนใจ ดังนั้น เรื่องราวที่ดีสำหรับคนทำ UX จะต้องคำนึงถึงผู้ฟัง และออกแบบเรื่องราวสำหรับผู้ฟังแต่ละคน เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ฟังจะได้รับ "ความรู้สึก" ที่เราต้องการจะสื่อจริงๆ