ภาพแสดงขั้นตอนการทำ UCD
หลังจากหาไปซักพักก็พอสรุปได้ว่า
UCD คือ กระบวนการที่พิสูจน์แล้วว่า สามารถทำให้โปรแกรมของเราเหมาะสมกับผู้ใช้ ไม่ใช่เหมาะสมกับผู้ว่าจ้าง หรือเหมาะสมกับคนที่ออกแบบมันขึ้นมา
UX คือ การที่ สินค้า บริการ หรือ โปรแกรม สามารถสร้างประสบการณ์ให้กับผู้ใช้ ในทิศทางที่ตรงตามเป้าหมายของมัน
ดังนั้นหลายที่จึงสรุปออกมาว่า ถ้าเราใส่ใจใน UX เราควรจะนำ UCD Process เข้ามาใช้ หลายที่พยายามทำ UX โดยใช้เพียง Marketing Research หรือ นั่งคาดการเอาเอง นั่นทำให้สุดท้ายได้โปรแกรมที่เหมาะสมกับคนออกแบบ แทนที่จะเหมาะกับผู้ใช้ แต่ถ้านำ UCD มาใช้เราจะได้ความต้องการของผู้ใช้ออกมาจริงๆ
ตั้งแต่ Stakeholder interview ที่นอกจากจะทำให้รู้ว่าทำโปรแกรมนี้ไปทำไม ยังทำให้รู้จุดอ่อนหรือจุดแข็งหรือบางครั้งรู้ไปถึงความต้องการของผู้ใช้ และสิ่งที่ผู้ใช้อาจจะหลอกเรา
User interview ทำให้เราไม่หลอกตัวเอง และเป็นการยืนยันสิ่งที่ Stakeholder บอกเราด้วย รวมทั้งเราอาจจะได้ปัญหาที่แท้จริงของผู้ใช้
Personas เราต้องการให้ผู้ใช้เข้ามาอยู่ในใจของทีมงานทุกคน ดังนั้นถ้าเราสามารถสร้างผู้ใช้คนนี้ขึ้นมาได้โดยการ ตั้งชื่อให้เค้า หารูปของเค้ามา บอกอะไรที่แสดงนิสัยใจคอ แล้วติด User คนนี้ไว้ให้ทีมงานดู เวลาที่เราทำอะไรก็ตาม เราจะนึกถึงคนๆ นี้ก่อน
Low-fidelity + Test เป็นการวาด Wireframe แบบคร่าวๆ แล้วเอาไปให้ผู้ใช้ทดสอบดู สามารถการเก็บความรู้สึกของผู้ใช้ระดับหนึ่ง การทำ Lo-fi นั้นมีจุดแข็งที่สามารถทำได้หลายๆ รอบ เพราะใช้พลังไม่มากนักในการสร้าง แต่ก็มีข้อเสียที่ผู้ใช้ส่วนมากจิตนาการไม่ออก
High-fidelity + Test เป็นการวาด Wireframe แบบเหมือนจริงมากๆ แล้วเอาให้ให้ผู้ใช้ทดสอบดู การทำขั้นตอนนี้มักจะต้องผ่านการทดสอบแบบ Lo-Fi มาก่อน เพราะเราจะต้องใช้พลังมากในการสร้างต้นแบบขึ้นมา
Dev + Test สุดท้ายก็เป็นการพัฒนาและทดสอบ แล้วก็วนทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดเวลา
การ์ตูนขำๆ จาก rachelnabors.com
หลายที่ก็บอกว่า UCD นั้นมากเกินไปจนไม่สามารถทำได้จริง ตรงนี้ผมมองว่าเราไม่จำเป็นต้องทำทุกกระบวนการก็ได้ครับ ควรปรับใช้ให้เหมาะกับงบประมาณและเวลาของแต่ละโครงการ ส่วนจะใช้กระบวนการอื่นเข้ามาเสริม หรือเข้ามาลดเวลาก็ต้องพิจารณาเป็นโครงการไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น