วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

UX ของป้ายเวลาทำการ

ที่มาของเรื่องนี้คือ ผมไปเจอรูปบน facebook อันหนึ่ง เค้าเห็นป้ายนี้แล้วเกิดสงสัยว่าทำไมไม่เขียนว่าทุกวันไปซะเลย เพราะการเขียนว่า วันจันทร์-วันอาทิตย์ มันยาวกว่า ต้องอ่านมากกว่า และเปลืองหมึกมากกว่าด้วย

ภาพต้นเหตุ

สมติว่าเหตุการนี้ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เจ้าของป้ายได้ผ่านการลองผิดลองถูกมาแล้ว กว่าจะมาเป็นป้ายนี้ เราอาจจะลองย้อนเหตุการดู

แบบนี้อาจจะเป็นแบบแรกที่ป้ายนี้เกิดขึ้นมาก เค้าขึ้นต้นด้วย "เวลาทำการ" ผมเลยคิดว่าเค้าน่าจะอยากแสดงเวลามากกว่า จากนั้นก็ใช้คำว่า "ทุกวัน" ลงท้าย ผมเดาสิ่งที่เกิดขึ้นคือ ลูกค้าหลายคนของที่นี้อาจจะไม่แน่ใจว่า "ทุกวัน" แปลว่าทุกวันทำงานหรือเปล่า กลายเป็นว่าทุกวันคือ จันทร์-ศุกร์ แทน หรือทุกวันอาจจะหมายถึงไม่มีวันหยุดก็ได้ ทำให้ลูกค้ามาที่ร้านในวันหยุดนักขัตฤกษ์ ด้วย


เจ้าของร้านจึงเปลี่ยนจาก "ทุกวัน" เป็น วันจันทร์-วันอาทิตย์ แทน เพื่อให้ทุกคนรู้ว่าไม่ใช่ จันทร์-ศุกร์ และอาจจะหยุดในวันนักขัตฤกษ์ด้วย แต่ก็มีปัญหาว่า บางคนสังเกตุแต่เวลาทำการ แต่ไม่ได้ดูวันที่ซึ่งเขียนเป็นบรรทัดสุดท้้าย ทำให้ลูกค้าเดินเข้ามาถามเจ้าหน้าที่อยู่ดี
เจ้าหน้าที่จึงย้ายวันจันทร์-วันอาทิตย์มาไว้เป็นบรรทัดที่สอง แล้วเติม เวลาลงไป เพราะมันห่างจากคำว่า "เวลาทำการ" มาหนึ่งบรรทัดแล้ว จึงต้องมีคำว่าเวลาใหม่อีกครั้ง
สุดท้ายแล้วเจ้าของอาจจะคิดว่ามันเกิดความซ้ำซ้อน จึงตัดคำว่า "เวลา" ออก ทำให้ขนาดของ "7:00-21:00 น." ใหญ่และเห็นชัดมากขึ้น

จากตัวอย่างถ้าเราเอามาเทียบกับเรื่อง UI เราจะเห็นว่า UI ที่ดีจะต้องปรับตัวเองไปตามผู้ใช้ โดยยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง หลายครั้งเราเอาตัวเองมาเป็นมาตรฐานทำให้คิดว่าป้ายแบบนี้ดีที่สุด แต่จริงๆ แล้วต้องดูว่าป้ายนี้ทำมาให้ใครใช้ คนกลุ่มนั้นมีความเชื่ออย่างไร เค้าเคยเห็นป้ายแบบไหนมาก่อน จากนั้นเราจึงออกแบบโดยใช้คนกลุ่มนั้นเป็นศูนย์กลาง

ถ้าทำได้เราจะสร้าง User eXperience ที่ดีที่สุดสำหรับกลุ่มเป้าหมายของเราครับ ส่วนคนที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายถ้าเค้าใช้ได้เราก็ดีใจ ถ้าเค้าใช้ไม่ได้ก็ควรปล่อยเค้าไปครับ อาจจะมีโปรแกรมอื่นๆ ที่เหมาะสำหรับเค้ามากกว่าเราก็ได้


1 ความคิดเห็น: