วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ใส่ใจกับความเท่าเทียมกัน

OS ที่ใส่ใจเรื่องความเท่าเทียมกัน จะมาพร้อมกับความสามารถด้าน Accessibility ทั้งงานด้านเทคนิค และงานออกแบบ ตัว Control ที่ออกมาจะต้องได้รับการทดสอบว่ายังสามารถทำงานได้ดีใน Accessibility Mode ด้วย เราลองมาดูตัวอย่างของ iOS กันก่อน

ตัวอย่างการกลับภาพ ขาวเป็นดำ ของ iOS

สำหรับคนที่สายตาไม่ดี การกลับภาพขาวเป็นดำ จะช่วยให้สามารถมองภาพได้ชัดมากขึ้นครับ ดังนั้นถ้างานออกแบบทำออกมาโดยคำนึงถึงเรื่องนี้ เมื่อกลับภาพขาวเป็นดำ ตัว Control จะยังคงความหมายที่ถูกต้องเอาไว้

ตัวอย่าง Control ของ iOS จะยังคงความหมายเดิมอยู่ เช่น ปุ่ม ON/OFF ที่เป็น ON จะแสดงสีสว่างให้รู้ว่าเปิดอยู่ ส่วนที่เป็น OFF จะแสดงสีกลืนไปเดียวกับพื้นหลังให้รู้ว่ามันไม่ได้ทำงาน นอกจากนั้นตัวหนังสือก็สามารถอ่านได้อย่างชัดเจนด้วย

เช่นเดียวกัน scroll bar ผู้ใช้จะรู้ได้ทันทีว่าด้านที่เป็น value อยู่ด้านซ้ายหรือขวา โดยดูจากสีเข้ม/สว่าง ทั้งแบบที่ธรรมดาและแบบกลับขาวเป็นดำ

ตัวอย่างการกลับขาวเป็นดำของ Android

สำหรับ Android ตัว UI ก็ได้รับการออกแบบให้รองรับแล้วเช่นกัน เราจะเห็นว่าสีที่เป็น ON จะแตกต่างจากสีอื่นๆ แม้ว่าตัวหนังสือ ON/OFF จะอ่านไม่ค่อยชัด แต่ก็ถือว่าอ่านออกครับ

แต่สำหรับใครก็ตามที่คิดจะวาด controller ขึ้นมาเอง อยากให้แน่ใจว่าได้ทดสอบเรื่อง Accessibility แล้วนะครับ

 
ตัวอย่าง control ที่สร้างเอง

ในตัวอย่างเป็น Control ที่สร้างขึ้นมาเอง จะเห็นว่ามีเฉพาะตัวที่สองเท่านั้นที่สามารถชื่อความหมายของการเปิดและปิดได้ ส่วนแบบที่เหลือเหมือกลับขาวเป็นดำ เราจะมองไม่ออกว่าอันไหนเปิดอันไหนปิดเพราะผู้ใช้เห็นเป็นสีสว่างเหมือนกัน ผู้ใช้ที่มองไม่เห็นสีแดง/สีเขียวจึงไม่รู้ว่าสีไหนคือเปิด สีไหนคือปิด

นอกจากคนที่สายตาไม่ดีแล้วคนที่ตาบอดสีก็มีปัญหานี้ไปด้วยครับ เพราะฉะนั้นถ้าไม่จำเป็นเราไม่ควรออกแบบ Control ขึ้นมาใหม่ เพราะนอกจากจะทำให้ผู้ใช้ต้องเรียนรู้เพิ่มแล้ว ยังเพิ่มโอกาสที่จะทำให้ Accessibility ไม่สมบูรณ์ด้วย

สุดท้ายที่อยากฝากไว้คือการทำ Accessibilty ที่ดีไม่ใช่การทำตาม Guideline เพราะ Accesibility ไม่ใช่เรื่องของ Guideline แต่มันเป็นเรื่องของคน ถ้าเราใส่ใจในความเท่าเทียมกันของคน เราจะได้ Accessibility ที่ดีมากเองครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น